ตามที่รัฐบาลได้มีการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อเป็นกลไกการบูรณาการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้ตรงกับความต้องการและเป็นไปในในทิศทางเดียวกัน และได้จัดตั้ง “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ขึ้น โดย วช. ได้รับมอบหมายให้เป็น Funding Agency หลักของประเทศ ทำหน้าที่ในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่หน่วยงานในระบบวิจัยและสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งได้แก่ นักวิจัย หน่วยงานและองค์การมหาชนทั้งภายในและภายนอกกระทรวงการอุดมศึกษาฯ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา ครอบคลุมทั้งการวิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รวมทั้งสหสาขาวิชาการ ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแก่หน่วยงานในส่วนภูมิภาค วช. จึงได้จัดงาน OPEN HOUSE “เปิดบ้าน วช. 5G : Change for the future” (ภาคเหนือ) ณ ห้องประชุมวังจันทน์ คอนเวนชั่น โรงแรมวังจันทน์ ริเวอร์วิว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

โดยศาสตราจารย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด และบรรยายในหัวข้อ “วช. พลิกโฉมบทบาทใหม่ ภายใต้กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ทั้งนี้ ได้มีการประกาศกำหนดเปิดรับทุนวิจัยและนวัตกรรมประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๓)ประกอบด้วย ทุนวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นสำคัญของประเทศ และทุนพัฒนาบุคลากรและการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการ (การพัฒนาบุคลากรการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการ, และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติ) ซึ่ง วช. จะสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นสำคัญเชิงรุก โดยผลการวิจัยจะต้องมีเป้าหมายของผลผลิตและใช้ประโยชน์ได้จริง มุ่งเน้นความสอดคล้องกับกลุ่มเรื่องหลัก รวมถึงเป้าหมายในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในด้านความคุ้มค่า มีคุณภาพ เวลา และต้นทุน ตลอดจนมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน นอกจากนี้ วช. ยังได้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ซึ่งเป็นระบบข้อมูลสารสนเทศกลางเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติ ใน 6 Module ดังนี้ 1.ระบบบริการข้อมูลและสารสนเทศการวิจัยและนวัตกรรม (Service System) ,2.ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรม (Data Processing & Analysis System), 3.ระบบติดตามสถานการณ์การวิจัยและนวัตกรรม (Data Monitoring System), 4.ระบบการคาดการณ์แนวโน้มการวิจัยและนวัตกรรม (Data Forecasting System), 5.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย (Decision Support System), และ6.ระบบบริหารจัดการข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรม (Data Management System) เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาและขับเคลื่อนประเทศ และเพิ่มอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

ปัจจุบัน วช. ได้พัฒนาให้ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System : NRMS) ให้สามารถบริหารจัดการทุนวิจัยในแบบออนไลน์ 100% เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่สนับสนุนการบริหารจัดการการวิจัยและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบและเกิดการบูรณาการระหว่างนักวิจัย หน่วยงานให้ทุน ผู้พิจารณาทุนวิจัย (Reviewer) และทีมบริหารจัดการ เพื่ออำนวยความสะดวก (Convenient) และลดระยะเวลา (Speed) ข้อมูลมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ (Accurate) และสามารถติดตาม ตรวจสอบได้ (Traceable) และเกิดความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Efficient) อีกทั้งนักวิจัยสามารถติดตามสถานะข้อเสนอโครงการวิจัยได้ทุกขั้นตอน พร้อมมีระบบแจ้งเตือนการส่งงาน สนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยงาน

ซึ่งปัจจุบัน วช. มีความพร้อมในวิธีการทำงานแบบใหม่ โดยได้ยกระดับการทำงานตามภารกิจใหม่โดยแนวทาง “วช. 5G” ประกอบด้วย Speed ทำงานได้รวดเร็วขึ้น Start เริ่มทำงานได้ทันที ตอบสนองฉับพลัน Scope ขยายขอบข่ายการทำงาน ในระดับชาติ และนานาชาติ Connectivity เชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ Efficient ทำงานคุ้มค่า ใช้ต้นทุนต่ำ ได้ผลผลิตสูง Smooth ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น และทำงานโดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งแนวทางทำงาน 5G ดังกล่าว วช. จะเป็นส่วนราชการที่มีประสิทธิภาพสูง รวดเร็ว คล่องตัว เชื่อมโยงนโยบายสู่การปฏิบัติได้ทันที พร้อมขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรม สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชวิจัยและนวัตกรรม”โดยภายในงานได้มีการจัดแสดงนิทรรศการ บทบาทใหม่ของ วช.ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และรูปแบบ /วิธีการ การดำเนินหน้าที่หน่วยงานหลักในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต่อไป