วช.เดินหน้างานตามภารกิจ มุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งเศรษฐกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับจังหวัดพะเยาและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้แผนงานจัดการความรู้การวิจัย และการขยายผลสู่พื้นที่ชุมชน

ในวันที่ 8 ก.ค. 2562 ที่ผ่านมานี้ สำนักงานคณะการวิจัยแห่งชาติ ได้ส่งมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรในพื้นที่จังหวัดพะเยา ภายใต้ โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2562 เรื่อง “โครงการการจัดการความรู้และขยายผลเทคโนโลยีเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกสำหรับการผลิตข้าวฮางงอก” โดยมี ผศ.ดร.สุพรรณ ยั่งยืน เป็นหัวหน้าโครงการ และ “โครงการการจัดการความรู้และขยายผลเทคโนโลยีเครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดแบบเคลื่อนย้ายได้ ระยะที่ 2” โดยมี ผศ.ดร.จักรมาส เลาหวณิช เป็นหัวหน้าโครงการ

ได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในการมอบ “เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกสำหรับการผลิตข้าวฮางงอก” และ “เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรด” แก่วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก จังหวัดพะเยา

โดยมี นายพงษ์พันธ์ วิเชียรสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ และผศ.ดร.จักรมาส เลาหวาณิช กล่าวรายงานถึงการพัฒนานวัตกรรมโดยการสนับสนุนของวช. ณ วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก ต.หนองหล่ม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา

ตามที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับนุนทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ไทย ประจำปี 2561 ภายใต้เรื่อง “การจัดการความรู้และขยายผลเทคโนโลยีเครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้งแบบเคลื่อนย้ายได้ ระยะที่ 2” ให้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรมาส เลาหวณิช  เป็นหัวหน้าโครงการ โดยในพื้นที่เป้าหมายในการขยายผลการใช้เทคโนโลยีครั้งนี้ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี กาฬสินธุ์ สงขลา นครสวรรค์ และจังหวัดพะเยา เพื่อยกระดับการผลิตและมูลค่าสินค้าทางการเกษตรชองกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ผ่านการขยายผลการใช้เทคโนโลยีเครื่องอบแห้ง

สำหรับพื้นที่จังหวัดพะเยานี้ วช. ได้รับการร้องขอสนับสนุนนวัตกรรมเครื่องอบแห้งฯ จาก นายเหล็ก หอมสมบัติ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก ต.หนองหล่ม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา สืบเนื่องจากว่าทางกลุ่มฯ ประสบปัญหาการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งพืชหลักที่สำคัญคือ ข้าว ปัญหาหลักในพื้นที่คือ ปัจจุบันได้มีการใช้รถเกี่ยวนวดข้าวมาใช้ในพื้นที่เกือบทั้งหมดเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และเป็นที่ทราบกันดีว่าข้าวที่เก็บเกี่ยวจากรถเกี่ยวนวดจะมีความชื้นสูงจึงทำให้เกษตรกรต้องทำการตากแห้งลดความชื้น แต่เนื่องจากพื้นที่เป็นสภาพเป็นภูเขา พื้นที่ลานตากไม่เพียงพอ ประกอบกับสภาวะฝนฟ้าอากาศที่แปรปรวนสูง ทำให้การจัดการด้านความชื้นเป็นไปได้ยาก ผลกระทบทำให้ผลิตผลิตข้าวมีคุณภาพต่ำ (ข้าวมีสีเหลืองขุ่น แตกหักสูง เป็นต้น) จึงจำหน่ายไม่ได้ราคาที่ควรจะเป็น ผลทางด้านสังคมระดับคุณภาพชีวิตในชุมชุมถือว่าค่อนข้างต่ำ รายได้น้อยมีภาวะหนี้สิน ดังนั้นนายเหล็ก หอมสมบัติ จึงได้พยายามมองหาเทคโนโลยีเพื่อนำมาลดความชื้นข้าวเปลือกหลายช่องทางและหลายประเภท จนกระทั่งได้ทราบว่ามีนวัตกรรม “เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้งแบบเคลื่อนย้ายได้” และได้ติดต่อประสานงานจนได้รับการสนุบสนุนดังที่กล่าวมา จากนั้นทีมนักวิจัยได้นำเทคโนโลยีเครื่องอบแห้งฯ ติดตั้งและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ได้ใช้งานอบข้าวเปลือกตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2562 เป็นต้น พบว่า การอบแห้งข้าวเปลือกด้วยเครื่องอบแห้งนี้ทำให้ลดเวลาในการตากแดดแบบเดิมจาก 3 วัน เหลือ 1 วัน ลดแรงงานในการอบแห้งฯ เพิ่มคุณภาพข้าว ได้แก่ ข้าวมีการแตกหัดลดลง ข้าวใสมันวาวขึ้น เนื้อสัมผัสดี มีกลิ่นหอม สามารถลดจำนวนมอดข้าวได้อย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้แล้ว นายเหล็ก หอมสมบัติ ได้ขอความอนุเคราะห์ให้ทางทีมวิจัยถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตข้าวฮางงอก ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเผ่าภูไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สืบต่อกันมากว่า 200 ปี มีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนและใช้เวลานานถึง 7 วัน ถึงจะได้ผลิตภัณฑ์ข้าวฮางงอกออกมาได้ โครงการนี้จึงได้นำเทคโนโลยีกระบวนการทางด้านวิศวกรรรมเข้ามาช่วยพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดระยะเวลาและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบายในการปฏิบัติงาน ให้แก่ชุมชุม เนื่องจากเห็นว่าเกษตรกรในพื้นที่มีความยากจน มีรายได้เฉพาะจากการปลูกข้าว และข้าวโพด เท่านั้น เกษตรกรยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตในชุมชน และในวันที่ 26 มกราคม 2562 ผู้ช่วยศาสตราจาย์ ดร.สุพรรณ ยั่งยืน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา ได้นำเทคโนโลยีการผลิตข้าวฮางงอกถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร (การพัฒนากระบวนการแปรรูปข้าวเปลือกแบบเพาะงอก หรือ “ข้าวฮางงอก” ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวภูไทที่มีขั้นตอนการผลิตรวม 7 วัน ได้แก่ แช่ บ่มเพาะงอก นึ่ง ตาก กะเทาะ ให้เหลือเพียง 2 วัน โดยการนำเทคโนโลยี “นวัตกรรมเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอก” ช่วยในกระบวนการสำคัญคือการทำให้ข้าวเปลือกงอก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณสาร GABA (Gamma Amino Butyric Acid) ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายหลายด้าน ผสานรวมกับนวัตกรรมการอบลดความชื้นด้วย”เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้ง”  ทำให้ผลิตภัณฑ์ข้าวฮางงอกเป็นการพลิกโฉมข้าวฮางงอกเดิมให้ดีเด่นด้านคุณภาพมีกลิ่นหอม เนื้อสัมผัสนุ่ม แตกหักน้อยมาก และเก็บรักษาได้นาน)

และได้ร่วมหารือถึงอัตลักษณ์ จุดเด่น จุดขาย ข้าวฮางงอกที่จะผลิตจาก ต.หนองหล่ม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา จนพบว่า พื้นที่มีตาน้ำธรรมชาติจำนวน 5 ตา แต่ละตาน้ำนั้นมีตำนานเล่าขาน มีความเชื่อและศรัทธาของคนในชุม ซึ่งหากมีการนำน้ำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตข้าวฮางงอกแล้ว จะทำให้ผลิตภัณฑ์ข้าวฮางงอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีที่เดียวในประเทศ ที่ข้าวฮางงอกใช้น้ำธรรมชาติจากตาน้ำ 5 รู นำมาแช่และเพาะข้าวเปลือกด้วยนวัตกรรมเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกให้งอกได้ภายใน 24 ชั่วโมง และนำข้าวเปลือกนึ่งสุกแล้วอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรด (เครื่องอบแห้ง ฯ ที่ได้รับการสนับสนุน) ภายในระยะเวลาอันสั้น ผลการดำเนินกิจกรรมการใช้นัวตกรรมที่ผ่านมาของกลุ่มฯ พบว่า สามารถแปรรูปข้าวฮางงอก และออกจำหน่ายได้ในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว    

 สำหรับนวัตกรรมเครื่องอบเมล็ดพันธุ์ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับประกาศเกียรติคุณ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปี 2562