กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน รุกนำสินค้าเกษตรปลอดภัย โดยเฉพาะผลไม้ที่โดดเด่น-ลำไย สู่ตลาดปลายทางที่กรุงเทพฯ มุ่งกันปัญหาสินค้าล้นตลาด จัดงานมหกรรมแสดงสินค้าปลอดภัยกลุ่มอิงฟ้าล้านนาตะวันออก  “Trendy Agri-Food Market Fair” ระหว่างวันที่ 9-13 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 2 กรุงเทพฯ  พร้อมจัดจับคู่ธุรกิจเปิดตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยสู่ตลาดผู้บริโภคในและต่างประเทศโดยตรง เพื่อเจาะฐานประเทศเป้าหมายได้เห็นศักยภาพสินค้าเกษตรภาคเหนือตอนบน

นายประเสริฐ ดอยลอม

นายประเสริฐ ดอยลอม เกษตรจังหวัดน่าน กล่าวว่า กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดพะเยา เชียงราย และแพร่ น่าน โดยสานักงานเกษตรจังหวัดพะเยา จะได้จัดงานมหกรรมแสดงสินค้าและเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยกลุ่มอิงฟ้าล้านนาตะวันออก (จังหวัดน่าน เชียงราย พะเยา และน่าน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 หรือ “Trendy Agri-Food Market Fair” ระหว่างวันที่  9-13 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 กรุงเทพมหานครฯ โดยนำสินค้าเกษตรในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ไปจัดจำหน่าย ซึ่งจะมีทั้งการทำตลาดเชื่อมโยง ผ่านการจับคู่ธุรกิจ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคในพื้นที่เป้าหมายได้พบปะ แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อสร้างโอกาสและรายได้ให้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย อันจะช่วยป้องกันปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาดในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวนี้ด้วย

โดยเฉพาะจังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตลำไยที่สำคัญจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือ โดยปีการผลิต 2561 มีพื้นที่ปลูกจำนวน 37,500 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว จำนวน 33,320 ไร่ คาดว่าปริมาณผลผลิตลำไยจะออกสู่ตลาดจำนวน 21,425 ตัน ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 19 ซึ่งปัจจุบันความต้องการของตลาดลำไยเน้นคุณภาพของผลผลิตเป็นสำคัญ   โดยส่วนใหญ่จะออกสู่ตลาดในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ถึง เดือน สิงหาคม 2561 นี้

นอกจากนั้นจังหวัดน่านได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปลูกผลไม้หลากหลายชนิด ประกอบด้วย ลำไย มะม่วง ส้มสีทอง และเงาะ ทำให้ศักยภาพจุดเด่นของจังหวัดน่านในแต่ละปีจะมีผลไม้เศรษฐกิจเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลเศรษฐกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น การได้ส่งเสริมให้มีช่องทางการตลาดจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน

ประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคมีความห่วงใยต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อสินค้าเกษตร ที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร ที่สำคัญ การที่เลือกพื้นที่กรุงเทพฯเป็นพื้นที่ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีตลาดผู้บริโภคทั้งภายในละต่างประเทศขนาดใหญ่ และมีกาลังซื้อสูง ก็จะทำให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศักยภาพของพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 และให้เกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมที่จะมีการสั่งซื้อสินค้าการเกษตรโดยตรง

นอกจากจะมีการจัดแสดงสินค้าอาหารเกษตรปลอดภัยแล้ว ยังมีกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ นิทรรศการอาหารเกษตรปลอดภัย กิจกรรมบันเทิงบนเวที กิจกรรมส่งเสริมการขาย และการแจกของรางวัลต่าง ๆ มากมายเพื่อดึงดูดให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่ายและสั่งซื้อสินค้าของผู้ประกอบการภายในงาน ที่สำคัญผลิตผลที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัดหรือ “ของดี 4 จังหวัด” ไปจัดแสดงในงานนี้

ซึ่งได้มีการคัดสรรสินค้าและผู้ประกอบการแล้ว ทั้งหมด 60 ราย โดยจะเน้นผลิตผลทางการเกษตรที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการผลักดันให้พื้นที่ 4 จังหวัดนี้เป็นผู้นำในการผลิตสินค้าและอาหารปลอดภัย ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง คือ ตั้งแต่การพัฒนาระบบการเพาะปลูกจนไปถึงผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพื่อผลิตสินค้าและอาหารที่เป็นที่นิยมของแต่ละจังหวัดให้โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือฝั่งตะวันออก เน้นการบริการอาหารจากแหล่งผลิตที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้อนร้านอาหาร โรงแรม ที่พัก และธุรกิจท่องเที่ยวอื่น ๆ รวมไปถึงองค์กรและกลุ่มสมาคมที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการประสานการทางานอย่างบูรณาการ ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น อย่างสร้างสรรค์ และยั่งยืนต่อไป